โครงการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชน

ยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กำหนดให้มีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งคือ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเพิ่มความสามารถของประชาชนในความรอบรู้เรื่องสื่อ ด้วยการส่งเสริมศักยภาพให้ประชาชนตื่นตัว เข้มแข็ง รู้จักป้องกันตนเอง สามารถเข้าถึง เข้าใจ และใช้สื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองผ่านกระบวนความรอบรู้เรื่องสื่อและการรณรงค์ทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เล็งเห็นว่าการพัฒนาทักษะและความสามารถในความรอบรู้เรื่องสื่อจำเป็นต้องพัฒนาตั้งแต่วัยเด็กรวมถึงกลุ่มเยาวชน โดยมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ ครู อาจารย์ และกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาด้วยกันเอง จึงได้กำหนดให้มีการพัฒนากลไกความรอบรู้เรื่องสื่อวิทยุ-โทรทัศน์สำหรับประชาชนกลุ่มเด็กและเยาวชน ทั้งในระบบการศึกษาและในรูปแบบการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการหรือกิจกรรมรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน

อนึ่ง โครงการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนนี้ ดำเนินงานโดยศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีทีมนักวิชาการ จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย

  รองศาสตราจารย์ ดร.พนม  คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ศาสตราจารย์ ดร.เอมอัชฌา  วัฒนบุรานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ศาสตราจารย์พัชนี  เชยจรรยา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

  ศาสตราจารย์เมตตา  วิวัฒนานุกูล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชิต  ธิอิ่น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

โดยโครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
 
โครงสร้างรูปแบบการดำเนินงานโครงการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชน
ถูกพัฒนาให้เป็นโครงการขนาดใหญ่มีพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุมทั่วประเทศไทย โดยมีกลไกการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย

  การพัฒนาและสร้างสรรค์เครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ”
  การนำเครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ” สู่การนำไปใช้ประโยชน์
  การส่งเสริมรณรงค์เกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ” แบบครบวงจรทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
  การสร้างเครือข่าย กระตุ้น ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

ขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินงานพัฒนาออกแบบเนื้อหา สาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้

กลไกสำคัญหนึ่งในการดำเนินงานของโครงการ หลังจากได้เครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับความรอบรู้เรื่องสื่อ

การดำเนินการในกระบวนการขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรอบรู้เรื่องสื่อแบบครบวงจร

โครงการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้