การพัฒนาและสร้างสรรค์เครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ”

1078 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การพัฒนาและสร้างสรรค์เครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ”

การพัฒนาและสร้างสรรค์เครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ”

      ขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินงานพัฒนาออกแบบเนื้อหา สาระการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ผลิตจัดทำเป็นเอกสารหรือตำราที่ครู อาจารย์สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย และโรงเรียนได้ โดยมีการบูรณาการศาสตร์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ด้านความรอบรู้เรื่องสื่อ และสาขาวิชาครุศาสตร์ด้านพัฒนาการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในตัวผู้เรียน ทั้งนี้งานวิจัยของ พนม คลี่ฉายา (2559, 2561) มีข้อค้นพบว่า การเรียนการสอนเรื่องความรอบรู้เรื่องสื่อจำเป็นต้องมีกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นความรู้ ฝึกการคิดวิเคราะห์ ฝึกทักษะการตอบสนองต่อเนื้อหาและการใช้สื่ออย่างปลอดภัย ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยมีครูผู้สอนเป็นให้คำแนะนำ (Coach) ของผู้เรียนด้วยการให้ความรู้ ชวนขบคิดวิเคราะห์ และชี้แนะการตอบสนองต่อสื่ออย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์ ร่วมกับการส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความสามารถในความรอบรู้เรื่องสื่อมาปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ผ่านกิจกรรมและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้เรียน เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของเด็กและเยาวชน โดยมีครู อาจารย์เป็นผู้นำและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง 
     การดำเนินงานที่สำคัญในส่วนนี้ประกอบด้วย การทบทวนตำรา งานวิจัย และเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับความรอบรู้เรื่องสื่อ การวิเคราะห์หลักสูตรความรอบรู้เรื่องสื่อ การวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นเนื้อหา สาระการเรียนรู้ แผนการจัด     การเรียนการสอน และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับ ความรอบรู้เรื่องสื่อ ในรูปแบบหนังสือ เอกสารแผนการเรียนรู้ และตำราคู่มือ โดยที่เครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการชุดนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ (IOC : Index of Item Objective Congruence) โดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลผลิตของขั้นตอนนี้ มีดังนี้

          (1) หนังสือแผนจัดการเรียนรู้ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ” (Media Literacy) ระดับมัธยมศึกษา

          (2) หนังสือแผนจัดการเรียนรู้ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ” (Media Literacy) ระดับอุดมศึกษา

          (3) คู่มือการสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้เรื่องสื่อในห้องเรียน ระดับมัธยมศึกษา

          (4) คู่มือการสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้เรื่องสื่อในห้องเรียน ระดับอุดมศึกษา

          (5) คู่มือการผลิตและสร้างสรรค์(สื่อ)กิจกรรม เพื่อรณรงค์และให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้เรื่องสื่อ สำหรับเด็กและเยาวชน

สำหรับผลผลิตที่เป็นเครื่องมือที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการเกี่ยวกับ “ความรอบรู้เรื่องสื่อ” ชุดนี้ ในกระบวนการขั้นตอนต่อไป ทางโครงการได้ออกแบบให้เกิดนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษาและการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้เรื่องสื่อ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้